Saturday, 09 April 2022 10:35

การแปลงพื้นหลักฐานระหว่าง WGS 84 และ Indian 1975

การแปลงพื้นหลักฐานระหว่าง WGS 84 และ Indian 1975

( Datum Transformation between WGS 84 and Indian 1975 )

 

959

ที่มา : https://gisgeography.com/wgs84-world-geodetic-system/

กรมแผนที่ทหารได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสำรวจโครงข่ายหมุดหลักฐานทางราบจากวิธีการสำรวจด้วยกล้องมาเป็นการสำรวจด้วยดาวเทียม GPS ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ซึ่งมีจุดกำเนิดอยู่ที่เขาสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี โดยประเทศไทยยังใช้พื้นหลักฐานทางราบเป็นพื้นหลักฐาน Indian 1975 เป็นตัวอ้างอิง และรูปทรงรี คือ Everest ในขณะที่การสำรวจด้วยดาวเทียม GPS กับพื้นหลักฐาน WGS 84 มีค่าจุดอ้างอิงและรูปทรงรีที่แตกต่างกัน ทำให้ค่าพิกัดหมุดเดียวกันมีค่าแตกต่างกัน จึงทำให้จำเป็นต้องมีการเป็นค่าพิกัดจากพื้นหลักฐาน WGS 84 มาเป็นค่าพิกัดบนพื้นหลักฐาน Indian 1975 จากการสำรวจด้วยดาวเทียม GPS

ซึ่งการแปลงค่าพื้นหลักฐานจาก Indian 1975 มาเป็น WGS 84 ได้รับความช่วยเหลือจาก Defense Mapping Agency (DMA) แห่งสหรัฐอเมริกา จากการใช้ข้อมูลของการรังวัดสถานี Doppler ของระบบดาวเทียม Transit ได้ค่าความสัมพันธ์ คือ

1

ซึ่งค่าความสัมพันธ์ดังกล่าวยังถือว่ามีค่าความละเอียดถูกต้องยังไม่สูงมากเนื่องจากหมุดควบคุมในงานขยายโครงข่ายมีจุดกำเนิดแค่จุดเดียวที่เขาสะแกกรัง หลังจากกรมแผนที่ทหารได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรทางด้านยีออเดซี่จากหลายหน่วยงานต่างประเทศ โดยเฉพาะการสำรวจโครงข่ายหมุดหลักฐานชั้น Zero Order หรือ Class AA ตามมาตรฐาน FGCC (Federal Geodetic Control Committee) แห่งสหรัฐอเมริกาที่มีการรังวัดค่าแบบสัมบูรณ์ที่มีความละเอียดถูกต้องสูง ทำให้ได้หมุดหลักฐานจำนวน 7 หมุด จนในปี พ.ศ. 2545 กรมแผนที่ทหารได้รวบรวมข้อมูลการรังวัด GPS ทั้งหมด เพื่อนำมาปรับแก้โครงข่ายหมุดหลักฐานทางราบพร้อมกันจนได้โครงข่ายที่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือสูง และกระจายตัวอย่างดีโดยการแปลงค่าพิกัดแบบ Geodetic Coordinates มาเป็นค่าพิกัดฉาก 3 มิติ (X,Y,Z) โดยค่าตัวแปรข้อมูลคือค่าพิกัดของหมุดหลักฐานที่ทราบค่าบนพื้นหลักฐานจำนวน 16 หมุด และได้มีการนำค่าความสูงเหนือทรงรี (Ellipsoid Height : h) เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ค่า h (สูตรการหาค่า h สามารถอ่านได้เพิ่มเติมที่เว็บข่าวสารหัวข้อเรื่อง Geoid (จีออยด์) https://www.universalcorp.co.th/all-blogs/item/8-5145 ) บนหมุดหลักฐานทั้ง 16 หมุด ผลการแปลงค่าโดยการคำนวณปรับแก้ระบบ Least Square Adjustment ด้วยซอฟต์แวร์ SKI-PRO ทำให้ได้ค่าความสัมพันธ์ระหว่างสองพื้นหลักฐานในการแปลงค่าพารามิเตอร์พื้นหลักฐาน WGS84 และ Indian 1975 ดังนี้ 2

 

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4

 

อ้างอิง

พ.อ.เอื้อมเกียรติ เจริญสม. รายงานผลการศึกษาวิจัย เรื่องการแปลงพื้นหลักฐานระหว่าง WGS84 และ Indian 1975 (Datum Transformation between WGS84 and Indian 1975). กรมแผนที่ทหาร.2565

 

 

Read 8602 times Last modified on Saturday, 09 April 2022 10:47