
ข่าวสาร/กิจกรรม (17)
การรังวัดแบบสถิต (Static Survey)
การรังวัดแบบสถิต คือ วิธีการวัดระยะโดยใช้คลื่นส่ง เป็นการทำงานโดยใช้เครื่องรับตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยสถานีหลัก (Base Station) จะตั้งอยู่ ณ จุดที่ทราบตำแหน่งค่าพิกัด ส่วนสถานีเคลื่อนที่ (Rover Station) ตั้งไว้ ณ จุดที่ต้องการหาตำแหน่งค่าพิกัดเพิ่มเติม โดยวิธีนี้เครื่องรับสัญญาณทั้งสองสถานีจะต้องรับข้อมูลจากดาวเทียมกลุ่มเดียวกันและช่วงเวลาเดียวกันอย่างน้อย 4 ดวง ปกติเครื่องจะถูกวางตั้งไว้รับสัญญาณไม่น้อยกว่า 30 นาที ทั้งนี้เพื่อให้มีข้อมูลของการวัดระยะที่เพียงพอจะประมวลผลหาจำนวนคลื่นเต็มรอบที่ไม่สามารถวัดได้ โดยหลักการแล้ววิธีการนี้ใช้หาตำแหน่งสัมพัทธ์ระหว่างจุดสองจุดที่อยู่ห่างกันเป็นระยะทางยาว ระยะทางสูงสุดที่ให้ความถูกต้องได้ตามข้อกำหนดของเครื่องรับสัญญาณจะอยู่ที่ประมาณ 20-30 กิโลเมตร
ระยะเวลาในการรังวัดแบบ Static สำหรับเครื่อง Single Frequency จะต้องรับสัญญาณดาวเทียมไม่น้อยกว่า 5 ดวง มีมุมรับสัญญาณไม่น้อยกว่า 15 องศาและ PDOP น้อยกว่า 7
- Hi-Target รุ่น V100, รุ่น V30 Plus, รุ่น V90 Plus และ iRTK5 มาพร้อมกับฟังก์ชันการทำงานโหมด Static Survey
- สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีค่าแม่นยำสูง ใช้งานง่าย
- สามารถใช้งานร่วมกับโครงข่าย RTK หรือ Network RTK ของกรมที่ดินได้
- สามารถกันฝุ่นและน้ำตามมาตรฐาน IP67
- ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องควบคุม รุ่น iHand30
สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ https://www.universalcorp.co.th/contact
อ้างอิง
เฉลิมชนม์ สถิระพจน์. แนวโน้มและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้าน GNSS ในปัจจุบัน (Recent Trends and Applications in GNSS Technology) ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2546.
ร.ท.วัลลพ ตาเขียว เอกสารประกอบวิชาการ การสำรวจด้วยดาวเทียม (Satellite Surveying) กรมแผนที่ทหาร. 2560.
Hi-Survey Road
สวัสดีค่ะ เพื่อนๆสำรวจและ GIS ทุกท่าน วันนี้เรามีกิจกรรมดีๆมาเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมการสัมมนาทางเว็บ (Webinar) โดยพบกับผู้เชี่ยวชาญจาก Hi-Target ที่จะมาให้ความรู้และวิธีการใช้งานโปรแกรมรังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS ด้วยแอพพิเคชัน Hi-Survey Road โดยแบ่งการสัมมนาออกเป็น 5 วันด้วยกัน
- วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม 2563 เวลา 15.00น.-16.00น.
- วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2563 เวลา15.00น.-16.00น.
- วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2563 เวลา15.00น.-16.00น.
- วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2563 เวลา15.00น.-16.00น.
- วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2563 เวลา 15.00น.-16.00น.
GNSS ย่อมาจาก Global Navigation Satellites System คือ ระบบเครือข่ายดาวเทียมนำทางที่โคจรรอบโลกซึ่งให้บริการสำหรับระบุตำแหน่งหรือค่าพิกัดบนพื้นผิวโลก ด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวรับสัญญาณคลื่นวิทยุจากดาวเทียมที่ส่งมาอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถใช้งานได้ครอบคลุมทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีระบบดาวเทียม GPS ที่เราคุ้นเคยเป็นส่วนหนึ่งในระบบดาวเทียม GNSS นี้ด้วย ในปัจจุบันได้มีระบบดาวเทียมของประเทศอื่นๆที่โคจรและให้บริการอยู่เช่นกัน ประกอบด้วย
- GPS (Global Positioning System) ของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยดาวเทียม 31 ดวง โคจรอยู่ใน 6 ระนาบ ที่ระดับความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร
- GLONASS ของสหพันธรัฐรัสเซีย ประกอบด้วยดาวเทียม 24 ดวงและสำรองอีก 2 ดวง โคจรอยู่ใน 3 ระนาบ ที่ระดับความสูงประมาณ 19,100 กิโลเมตร
- Galileo ของสหภาพยุโรป ประกอบด้วยดาวเทียม 24 ดวงและสำรองอีก 6 ดวง โดยโคจรอยู่ใน 3 ระนาบ ที่ระดับความสูงประมาณ 23,000 กิโลเมตร
- BeiDou หรือ BDS ของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยปัจจุบันกำลังขยายระบบดาวเทียมให้ครอบคลุมทั่วโลกให้มีจำนวนดาวเทียม 35 ดวงภายในปี 2020 โคจรที่ระดับความสูงประมาณ 21,100 กิโลเมตร
- IRNSS (Regional navigation Satellite System) ของประเทศอินเดีย เป็นระบบดาวเทียมระดับภูมิภาคซึ่งให้บริการเฉพาะประเทศอินเดียและพื้นที่ใกล้เคียงในระยะ 1,500 กิโลเมตร ประกอบด้วยดาวเทียม 7 ดวง
- Quasi-Zenith Satellite System (QZSS) ของประเทศญี่ปุ่น เป็นระบบดาวเทียมระดับภูมิภาค ที่ครอบคลุมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย (Oceania) ขณะนี้มีดาวเทียม 4 ดวงที่โคจรอยู่เหนือพื้นโลก และมีแผนจะเพิ่มเป็น 7 ดวงภายในปี 2024
โดยสรุป GNSS คือ ระบบดาวเทียมนำทางซึ่งใช้ระบุพิกัดตำแหน่งของผู้ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนพื้นโลก ซึ่งบริเวณพื้นที่ใดรับสัญญาณดาวเทียมได้มากก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่ตำแหน่งมีความถูกต้องมากขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า ‘More Satellites means more accuracy’ ทำให้ในปัจจุบันหน่วยงานที่ดูแลระบบดาวเทียมต่างๆยังพยายามพัฒนาดาวเทียมและส่งขึ้นสู่อวกาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้งานระบบดาวเทียม GNSS มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น