Wednesday, 17 November 2021 15:24

Geoid (จีออยด์)

Geoid (จีออยด์)

Picture1

(ที่มา : https://app1.sla.gov.sg/SIRENT/About/SGEOID09)

การใช้งานเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS ด้านงานสำรวจรังวัดในประเทศไทย เริ่มเป็นที่นิยมอย่างมากเนื่องจากเป็นวิธีการที่ได้ค่าความถูกต้องสูง การรังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS จะให้ผลออกมาในรูปแบบสามมิติ คือค่าทางราบและค่าความสูง ค่าความสูงเป็นค่าความสูงเหนือรูปทรงรี ที่เรียกว่า ความสูงเหนือ ellipsoid การทำงานสำรวจรังวัดจะใช้ค่าทางดิ่งที่เป็นค่าความสูงจากระดับเหนือระดับทะเลปานกลาง ที่เรียกว่า ความสูงออร์โทเมตริก (Orthometric height) หรือความสูงเหนือพื้นผิวยีออยด์ (Geoid) และในปัจจุบันประเทศไทยมีผลงานวิจัยอยู่หลายเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS ในด้านการหาค่าระดับที่ให้ค่าความถูกต้องอยู่ในระดับเซนติเมตร เนื่องจากการรังวัดระดับแบบเดิมเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูง สิ้นเปลืองเวลา และในบ้างพื้นที่ไม่สามารถถ่ายค่าระดับเข้าไปในพื้นที่ได้ ทำให้เครื่องรับสัญญาณ GPS มีบทบาทในการทำงานรังวัดระดับได้

หลักการคำนวณหาค่าระดับจากการรังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณ GPS

การที่จะแปลงค่าความสูงเหนือทรงรีมาเป็นค่าความสูงเหนือระดับทะเลปานกลางหรือความสูงออร์โทเมตริกจำเป็นต้องทราบค่าความต่างระหว่างพื้นผิวทรงรีและพื้นผิวยีออยด์ (Geoid-ellipsoid separation) ซึ่งจะเรียกโดยย่อว่า ‘N’ ความสัมพันธ์ระหว่าง N กับความสูงเหนือทรงรีและความสูงออร์โทเมตริกสามารถแสดงออกมาเป็นสมการได้ดังนี้

949

Picture2

 

 (ที่มา : Müge Albayrak et al.,2020 )

               จากสมการข้างต้นจะพบว่าค่าความถูกต้องของค่าความสูงเหนือระดับทะเลปานกลางหรือความสูงออร์โทเมตริกจะขึ้นอยู่กับค่าความถูกต้องของค่าความสูงเหนือทรงรีที่ได้จากงานรังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณ GPS และค่าความถูกต้องของการหาค่า N มีความเป็นไปได้ที่จะหาค่าความสูงเหนือทรงรีที่ถูกต้องในระดับ 1-2 ppm. ดังนั้นค่าความถูกต้องของ N จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการหาค่าระดับจากการรังวัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS

              

ทั้งนี้ในการใช้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GPS ในการทำงานรังวัดระดับของประเทศไทยจำเป็นต้องใช้แบบจำลอง    ยีออยด์ของพิภพภาคพื้นดิน (Global geoid model) เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำงาน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการนำแบบจำลอง  ยีออยด์ของพิภพภาคพื้นดิน (Global geoid model) มาใช้ในงานรังวัดระดับคือ EGM 1996, EGM2008 และ TGM2017 โดยให้ค่าความถูกต้องอยู่ในระดับเซนติเมตร 

 

สนใจติดต่อ บริษัท ยูนิเวอร์แซล คอร์ป จำกัด

☎: 095-596-5619 หรือ 0-2318-3688-9

📧: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

https://www.universalcorp.co.th/

#HiTarget #GNSS #UniversalCorp #V30Plus #V200 #V90Plus #iRTK5 #iRTK4

 

 

 

อ้างอิง

เอกจิต เพียรพิทักษ์ ความรู้เกี่ยวกับ GPS ที่มา http://te-e-trading.blogspot.com/p/blog-page.html. 2564

พ.อ.เอื้อมเกียรติ เจริญสม รายงานผลการศึกษาวิจัย เรื่องค่าตัวแปรในการเปลี่ยนพื้นหลักฐานของ ผท.ทหาร : WGS 84 กับ อินเดียน 1975 กรมแผนที่ทหาร. 2564

ร.ท.วัลลพ ตาเขียว เอกสารประกอบวิชาการ การสำรวจด้วยดาวเทียม (Satellite Surveying) กรมแผนที่ทหาร. 2564

Read 3729 times Last modified on Thursday, 18 November 2021 03:01